|
|
 |
ความรับผิดในหนี้ของหุ้นส่วนผู้จัดการ |
ความรับผิดในหนี้ของหุ้นส่วนผู้จัดการ
กัมปนาท บุญรอด*
โดยปกติแล้วบุคคลต่างๆ ที่ประสงค์จะรวมตัวกันเพื่อประกอบกิจการค้าอย่างหนึ่งอย่างใดย่อมสามารถที่จะตกลงกันเลือกรูปแบบการประกอบกิจการค้าที่สอดคล้องกับความต้องการของตนไม่ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น จำนวนผู้ลงทุน จำนวนเงินทุน ความรู้ความชำนาญในการประกอบกิจการค้า ลักษณะหรือประเภทของกิจการที่ต้องการจะทำการค้าร่วมกัน การบริหารจัดการกิจการ ภาษีอากร [1] อย่างไรก็ตาม นอกจากเรื่องความน่าเชื่อถือของกิจการต่อบุคคลภายนอกแล้ว อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยประการสำคัญประการหนึ่งที่มักจะถูกนำมาใช้ในการพิจารณากำหนดรูปแบบการประกอบกิจการค้าอันได้แก่ “ขอบเขตความรับผิด” ของผู้ลงทุนในหนี้อันเกิดจากการประกอบกิจการค้า ขึ้นอยู่กับบุคคลที่จะประกอบกิจการค้าร่วมกันนั้นย่อมที่จะรับผิดร่วมกันโดยตรงในหนี้ที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ หรือในทางตรงกันข้ามบุคคลเหล่านั้นต้องการให้กิจการค้าเป็นผู้รับผิดชอบในหนี้ที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการค้าเป็นหลัก มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนสำหรับหนี้ที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการค้า ในระหว่างที่ตนเพิ่งเข้ามาและออกจากห้างไปแล้ว และจะเกี่ยวถึงความรับผิดในหนี้ภาษีอากรด้วย โดยจะกล่าวถึงเฉพาะกรณีความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน และห้างหุ้นส่วนจำกัดเท่านั้น รายละเอียดมีดังนี้
1. หลักทั่วไปของความรับผิดของห้างหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการ
*นิติกร กองกฎหมาย กรมสรรพากร
[1] นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์ หลักกฎหมายห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด กรกฎาคม 2555 หน้า 27
หน้า 1

|
|
 |
 |

|
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
|
|
|
|
|
|
Copyright © 2006 สรรพากรสาส์น All
rights reserved. Do not duplicate or redistribute in any form.
สรรพากรสาส์น ชั้น 1 อาคารสวัสดิการ กรมสรรพากร เลขที่ 90 ถนนพหลโยธิน ซอย
7 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร 02-617-3239, 02-272-9558, 02-272-9559
Design by: b plus j Co., Ltd. |
|
|