บทความ
รู้แหล่งเงินได้ เสียภาษีไม่ซ้ำซ้อน
กัมปนาท บุญรอด*
โดยทั่วไปรัฐต่างๆ ทั่วโลกจะอ้างหลักเกณฑ์สำคัญในการบังคับจัดเก็บภาษีจากผู้มีเงินได้โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับแหล่งของเงินได้และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับตัวบุคคลผู้มีเงินได้ ซึ่งในทางทฤษฎีอาจจำแนกเป็นหลักเกณฑ์สำคัญๆ ได้ 3 หลัก คือ[1] หลักแหล่งเงินได้ (Source rule) หลักถิ่นที่อยู่ (Resident rule) และหลักสัญชาติหรือความเป็นพลเมือง (Citizenship rule) ประเทศส่วนใหญ่จะใช้หลักแหล่งเงินได้และหลักถิ่นที่อยู่ ในการจัดเก็บทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมทั้งประเทศไทย (ภาษีมูลค่าเพิ่มใช้หลักอาณาเขตในการจัดเก็บ)[2] จากหลักดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้
1. สาระสำคัญตามประมวลรัษฎากร
การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องพิจารณาถึงแหล่งเงินได้ว่า เกิดจากที่ใด แหล่งเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ศึกษาได้จากประมวลรัษฎากร มาตรา 41 ซึ่งบัญญัติว่า
“ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ
ผู้อยู่ในประเทศไทยมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย
ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีปีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”
เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า แหล่งที่มาของเงินได้ซึ่งแบ่งได้เป็น แหล่งเงินได้ในประเทศ[3] และแหล่งเงินได้นอกประเทศ[4] เงินได้จากแหล่งต่างๆ เหล่านี้ จะต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ พิจารณาได้ตามหลักเกณฑ์ คือ
กัมปนาท บุญรอด*
โดยทั่วไปรัฐต่างๆ ทั่วโลกจะอ้างหลักเกณฑ์สำคัญในการบังคับจัดเก็บภาษีจากผู้มีเงินได้โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับแหล่งของเงินได้และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับตัวบุคคลผู้มีเงินได้ ซึ่งในทางทฤษฎีอาจจำแนกเป็นหลักเกณฑ์สำคัญๆ ได้ 3 หลัก คือ[1] หลักแหล่งเงินได้ (Source rule) หลักถิ่นที่อยู่ (Resident rule) และหลักสัญชาติหรือความเป็นพลเมือง (Citizenship rule) ประเทศส่วนใหญ่จะใช้หลักแหล่งเงินได้และหลักถิ่นที่อยู่ ในการจัดเก็บทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมทั้งประเทศไทย (ภาษีมูลค่าเพิ่มใช้หลักอาณาเขตในการจัดเก็บ)[2] จากหลักดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้
1. สาระสำคัญตามประมวลรัษฎากร
การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องพิจารณาถึงแหล่งเงินได้ว่า เกิดจากที่ใด แหล่งเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ศึกษาได้จากประมวลรัษฎากร มาตรา 41 ซึ่งบัญญัติว่า
“ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ
ผู้อยู่ในประเทศไทยมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย
ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีปีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”
เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า แหล่งที่มาของเงินได้ซึ่งแบ่งได้เป็น แหล่งเงินได้ในประเทศ[3] และแหล่งเงินได้นอกประเทศ[4] เงินได้จากแหล่งต่างๆ เหล่านี้ จะต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ พิจารณาได้ตามหลักเกณฑ์ คือ
* นิติกร กองกฎหมาย กรมสรรพากร
[1] ธนภณ (เพริศพิบูลย์) แก้วสถิต คำอธิบายภาษีเงินได้ระหว่างประเทศและหลักการทั่วไปของอนุสัญญาภาษีซ้อน พิมพ์ครั้งที่ 3 หน้า 3
[2] การขายสินค้าหรือการให้บริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ต้องเป็นการขายสินค้าหรือการให้บริการในราชอาณาจักรไทยตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร
[3] ประมวลรัษฎากรมาตรา 41 วรรคหนึ่ง
[4] ประมวลรัษฎากรมาตรา 41 วรรคสอง และวรรคสาม